ชาวสุราษฎร์ฯ เชียร์สร้าง “ทางด่วนเชื่อมเกาะสมุย” ชี้จุดเริ่มจำเป็นต้องที่ “ดอนสัก”
เมื่อวันที่ 9 ส.ค. ที่โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จ.สุราษฎร์ธานี นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) พร้อมด้วยนายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่1 (ปฐมนิเทศโครงการ) งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะสมุย เพื่อนำเสนอข้อมูล และความสำคัญของโครงการแนวคิดเบื้องต้น แนวเส้นทางเลือก รูปแบบเบื้องต้น กระบวนการ ขั้นตอน และแผนการดำเนินงาน ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้รับทราบ และร่วมให้ข้อคิดเห็น รวมทั้งข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปประกอบการดำเนินการศึกษาความเหมาะสมฯต่อไป
นายสุรเชษฐ์ กล่าวว่า ดีใจที่ได้โครงการนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากชาวสุราษฎร์ธานี โครงการนี้ค่อนข้างท้าทาย เพราะมีต้นทุนในการลงทุนสูง เนื่องจากก่อสร้างทางด่วนข้ามทะเล โดย กทพ. จะพยายามผลักดันโครงการนี้เกิดขึ้นให้ได้ ด้วยการใช้วิธีการต่างๆ อาทิ ลดต้นทุนก่อสร้าง และจูงใจให้รัฐร่วมเป็นเจ้าภาพก่อสร้าง ขอฝากไปยังนักการเมืองท้องถิ่น สภาผู้แทนราษฎร รวมถึงกระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย ต้องช่วยกันผลักดันในขั้นตอนการนำเสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาด้วย หากให้ กทพ. ฝ่ายเดียวคงผลักดันให้โครงการนี้เกิดขึ้นไม่ได้
ด้านนายสมพร พัฒนรัฐ ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า หลังจากนี้ต้องพิจารณาเปรียบเทียบแนวทางเลือกที่เป็นไปได้ที่กำหนดไว้ทั้ง 7 เส้นทาง ซึ่งแต่ละเส้นทางมีระยะทางแตกต่างกัน ประมาณ 22-29 กิโลเมตร(กม.) เพื่อให้ได้เส้นทางที่เหมาะสมที่สุด และจะนำมาเสนอในการประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ ครั้งที่ 2 ประมาณเดือน ธ.ค.66 ทั้งนี้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาแนวเส้นทางนั้นพิจารณาจาก 1.ข้อจำกัดด้านกายภาพ 2.การเชื่อมต่อโครงข่ายถนนสายหลัก ให้สอดคล้องกับรูปแบบการเดินทาง 3.มีศักยภาพในการดึงดูดผู้ใช้ทาง 4.หลีกเลี่ยงพื้นที่ชุมชน และไม่ขัดขวางทิศทางการพัฒนาของเมือง และ 5.หลักเลี่ยงพื้นที่อ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม
นายสมพร กล่าวต่อว่า สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกแนวเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด แบ่งเป็น 3 ส่วน รวม 150 คะแนน ประกอบด้วย 1.ด้านวิศวกรรมและจราจร 50 คะแนน อาทิ ระยะเวลาในการเดินทาง, ความยากง่ายในการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงทั้งปัจจุบันและอนาคต, ผลกระทบในการก่อสร้าง-ระบบสาธารณูปโภคในทะเล-การเข้าออกพื้นที่ 2.ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน 50 คะแนน อาทิ ค่าก่อสร้าง, ค่าบำรุงรักษา และค่าชดเชยอสังหาริมทรัพย์ และ 3.ด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 50 คะแนน อาทิ ผลกระทบต่อพื้นที่อนุรักษ์/พื้นที่ป่าไม้ และผลกระทบทางสังคมและคุณภาพชีวิตคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมครั้งนี้มีประชาชน และผู้แทนหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุม 150 คน โดยทุกคนที่ลุกขึ้นแสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะ ต่างเห็นด้วย และยินดีที่จะมีทางด่วนเชื่อมเกาะสมุย เสียงส่วนใหญ่อยากให้มีจุดเริ่มต้นที่ดอนสัก มีประชาชนรายหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่า เนื่องจากปลายทางเกาะสมุย อยู่ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ดังนั้นต้นทางควรอยู่ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งจะเกิดประโยชน์ในเชิงปกครอง ผู้ว่าราชการจะสั่งการ หรือมีนโยบายใด รวมทั้งเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน การอยู่ในเขตจังหวัดเดียวกันการทำงานจะสะดวก และง่ายกว่าการข้ามเขตจังหวัด
นอกจากนี้ในแง่การท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ของภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมเป็นจังหวัดที่จะเชื่อมฝั่งทะเลตะวันออกไปสู่ทะเลอันดามันที่ จ.ภูเก็ต ซึ่งขณะนี้งานโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น ทางถนน และทางรถไฟ ได้กำหนดจุดหมายปลายทางมาที่ดอนสักแล้ว ดังนั้นหากจะทำโครงสร้างพื้นฐานใดอีกก็ควรลงที่จุดนี้ เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อ และสะดวกในการเดินทาง ทั้งนี้มีข้อเสนอว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะศึกษาทำทางขึ้นลงทางด่วนเป็นจุดเริ่มต้นใน 2 พื้นที่ ทั้งที่ดอนสัก และขนอม เหมือนกับทางด่วนในกรุงเทพฯ ที่มีทางขึ้นลงหลายจุดในสายทางเดียวกัน
อย่างไรก็ตามในที่ประชุมส่วนใหญ่เลือกแนวเส้นทางที่ 1 และ 2 โดยเส้นทางที่ 1 มีจุดเริ่มต้นบริเวณ กม.30+700 ของทางหลวงหมายเลข 4142 พื้นที่ ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ตัดผ่านพื้นที่ภูเขาบางส่วน มีจุดสิ้นสุดบริเวณ กม.5+650 ของทางหลวงหมายเลข 4170 ในพื้นที่ ต.ตลิ่งงาม อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 28.62 กม. ส่วนเส้นทางที่ 2 มีจุดเริ่มต้นบริเวณ กม.30+700 ของทางหลวงหมายเลข 4142 พื้นที่ ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ซ้อนทับกับถนนท้องถิ่นในความดูแลของเทศบาลนครเกาะสมุย มีจุดสิ้นสุดบริเวณ กม.6+100 ของทางหลวงหมายเลข 4170 (แยกพังกา) พื้นที่ ต.ตลิ่งงาม อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 29.03 กม.คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง