ประเทศไทยน่าสนใจแค่ไหน- ในการลงทุน “เปลี่ยนผ่านพลังงาน”
ปัญหาภาวะโลกร้อนและวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เรื่องของแนวทางการทำธุรกิจที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจมากขึ้นทั่วโลก
ประเทศไทยเอง ได้ประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 หรือก่อนหน้านั้น ซึ่งการจะไปให้ถึงเป้าหมายนั้น กลไกสำคัญนอกจากการฟื้นฟูธรรมชาติแล้ว ก็คือเรื่องของ “การเปลี่ยนผ่านพลังงาน” (Energy Transition)
การเปลี่ยนผ่านพลังงาน พูดง่าย ๆ ก็คือการเปลี่ยนการผลิตพลังงานจากแหลล่งเดิมๆ ที่สร้างผลกระทบต่อโลก มาใช้พลังงานรูปแบบใหม่ที่ปลอดภัยและยั่งยืนกว่า
แต่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ได้พัฒนาสังคมขึ้นมาโดยมีพลังงานไฮโดรคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหัวใจหลักมากเป็นเวลานับร้อยปี การจะเปลี่ยนผ่านพลังงานได้ จึงต้องการทั้งเงินทุนและผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นโอกาสของเหล่านักลงทุนนั่นเอง
การดักจับไฮโดรเจนและคาร์บอน รวมไปถึงเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้า สถานีชาร์จรถไฟฟ้า รวมไปถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยียานยนต์
ประเทศไทยของเรา เมื่อต้องการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะต้องการดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก ในฐานะฮับที่เป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนผ่านพลังงาน
แต่คำถามสำคัญคือ “ประเทศไทยมีความน่าสนใจแค่ไหน ในการลงทุนด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงาน?”
ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และคาดว่าความต้องการพลังงานในภูมิภาคจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 3 เท่า
นั่นส่งผลให้ภูมิภาคนี้จะกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ทำให้น่าจะมีโอกาสดี ๆ ในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ซึ่งประเทศไทยต้องเตรียมตัวให้มีความพร้อม
เลขานุการฯ เสริมว่า เรื่องของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน มีเรื่องที่ต้องคำนึงถึง “เราคุ้นเคยกับการพูดถึงพลังงานว่า มันต้องมั่นคง เปิดไฟ ไฟต้องติด เสียบปลั๊ก มันต้องได้ ดังนั้นในอดีตที่ทำกันมาคือ ทำอย่างไรก็ได้ให้มีพลังงานเพียงพอ … มุมที่สอง บางครั้งราคาพลังงานมันกลับเข้าถึงไม่ค่อยได้ เพราะเมื่อเวลาผ่านไป พลังงานมั่นคงมากขึ้น มันมีความต้องการมากขึ้น มันมาพร้อมกับราคาด้วย … ปฏิเสธไม่ได้ว่า ของดี ของที่สะอาด เหมือนเราไปซื้อไข่ซื้อผักในตลาด ถ้าเป็นสินค้าออร์แกนิก ราคามันก็สูงขึ้น”
ศ.ดร.พิสุทธิ์เชื่อว่า ประเทศไทยมีความน่าสนใจและแรงดึงดูดในสายตานักลงทุน เพราะมีพื้นฐานบางประการที่ดีอยู่แล้ว โดยไทยมีสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินค้อนข้างน้อย ประมาณ 15-16% เมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียงที่ใช้ 50-60% นอกจากนี้ยังมีพลังงานสะอาดมากขึ้น มีการเปิดรับซื้อพลังงาน ซึ่งน่าจะทำให้สัดส่วนพลังงานสะอาดในประเทศไทยสูงขึ้นเกิน 30% ในอนาคตอันใกล้
บทเรียนจากเมืองนอก ทำไมเบี้ยประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าแพง? จะแก้ไขอย่างไร?
เมื่อ “หิมะ” ถูกแทนที่ด้วย “กระบองเพชร” โลกร้อนกระทบสวิสหนัก
นักวิทย์ฯ เผย อุณหภูมิกรีนแลนด์ร้อนสุดในรอบ 1,000 ปี
“ดังนั้น มันทำให้เรามีพื้นฐานที่ค่อนข้างพร้อมมาก่อนแล้ว มันเลยเป็นที่มาว่า ภายในปี 2030 การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไทยจะอยู่ที่ประมาณ 500 ล้านตันคาร์บอน ถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม เขาจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านตันคาร์อน หรือถ้าเป็นอินโดนีเซียก็เกือบ ๆ 3,000 ล้านต้นคาร์บอน” เขากล่าว
ศ.ดร.พิสุทธิ์ยังเล่าด้วยว่า “ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการจำนวนมากที่เข้ามาคุยและสนใจว่า ถ้าเขามาลงทุนด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานนี้ เรามีความพร้อมเชิงพลังงานสะอาดมากน้อยแค่ไหน … ผมคิดว่าเขาเห็นคุณค่าและความพร้อมที่อยู่ในประเทศไทย”
อย่างไรก็ดี เลขานุการฯ ยอมรับว่า ไทยเองยังมีข้อจำกัดบางอย่างอยู่เช่นกัน “เรื่องใหญ่ ๆ ก็คือ ตัวพลังงานสะอาดไม่ได้เป็นสิ่งที่เปิดแล้วสั่งได้ มันต้องการการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ … ข้อจำกัดคือ จะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะมีพลังงานสะอาดแบบ 24/7 (ทุกวันทุกเวลา)”
ศ.ดร.พิสุทธิ์บอกว่า ในฐานปัจจุบัน ทุกภาคส่วนกำลังทำงานหนักมาก ทั้งในการเพิ่มซัพพลายในปริมาณที่มากขึ้น และมีกลไกการควบคุมที่ดีมากขึ้น โดยอาจจะมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยทำงาน (Digitalization) และการปรับกฎระเบียบให้ง่ายขึ้น หรือแม้กระทั่งกระจายศูนย์ (Decentralization) “เรามีทรัพยกากรชีวภาพ มีขยะเยอะ ถ้าเราทำการกระจายศูนย์ควบคู่ น่าจะเป็นโอกาสขจัดข้อจำกัดได้”
ศ.ดร.พิสุทธิ์ให้ความมั่นใจว่า ประเทศไทยจะสามารถทำตามเป้าหมายปี 2050 ได้ แต่ต้องการสนับสนุนทางการเงินเพิ่ม ซึ่งอาจจะได้ผ่านภาษี และต้องการการขยายขีดความสามารถ จึงต้องมีการจัดประชุมหารือ อีเวนต์ เพื่อรวบรวมผู้เชี่ยวชาญมาร่วมกัน “โดยสรุปคือ เราจริงจังกับเรื่องนี้”
หนึ่งในงานสำคัญด้านพลังงานที่กำลังจะมีขึ้นคือ Future Energy Asia and Future Mobility Asia 2023 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ผู้สื่อข่าวลองพูดคุยกับนักธุรกิจที่สนใจลงทุนด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานในไทยอย่าง โจนาส เบิร์จ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเทคโนโลยีประยุกต์ จากบริษัท Emerson Automation Solutions ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอัตโนมัติ (Automation) จากสิงคโปร์
ระบบอัตโนมัติเป็นส่วนจำเป็นต่อการสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ ในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด สถานีชาร์จไฟฟ้า ถังเก็บพลังงาน ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องการระบบอัตโนมัติ
เมื่อถามเบิร์จว่าเขาคิดว่าโครงสร้างพื้นฐานในไทยเพียงพอต่อการลงทุนด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานหรือไม่ เขาบอกว่า “ผมไม่คิดว่ามีประเทศไหนที่มีโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอทั้งนั้น ผมจะไม่บอกว่าไทยตามหลังหรือก้าวหน้ากว่าใคร ทุกชาติต้องการการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ทุกประเทศส่วนใหญ่พัฒนาโดยมีไฮโดรคาร์บอนเป็นหัวใจ พอมาตอนนี้ที่เราต้องการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานไฮโดรเจนหรือพลังงานไฟฟ้า โรงไฟฟ้าบางแห่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง สถานีชาร์จจะต้องเพิ่มขึ้น บริษัทไทยมีความตั้งใจและความรู้ที่จะเปลี่ยน ดังนั้นผมไม่กังวล”
ในส่วนของบรรยากาศการลงทุนด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เบิร์จมองว่า ที่สิงคโปร์มีความง่ายกว่าที่ประเทศไทยในบางจุด โดยที่สิงคโปร์มีความกะทัดรัด แต่ก็มีพื้นที่จำกัด “เราจะเอาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ ไปตั้งไว้ที่ไหน … ไทยมีพื้นที่จำนวนมากที่จะเอาไว้ตั้งโซลาร์เซลล์ ถ้าเป็นที่สิงคโปร์จะเอาไว้ไหน ทุกประเทศมีความท้าทาย”
นักธุรกิจจาก Emerson บอกว่า หากจะให้เอ่ยถึงนโยบายภาครัฐเรื่องการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่ดี เป็นรูปธรรม เขายกตัวอย่างที่สิงคโปร์ ซึ่ง “ภาษีคาร์บอน” เป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เพราะเป็นการเร่งให้โรงกลั่นและโรงงานต่าง ๆ ต้องพยายามลดการปล่อยคาร์บอนอย่างเร่งด่วน และจะเห็นแนวโน้มว่า ภาษีคาร์บอนจะสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ อีกด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“รัฐบาลมีบทบาทสำคัญมากในการเร่งกระบวนการการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ซึ่งผมคิดว่าทั้งรัฐบาลสิงคโปร์และรัฐบาลไทยต่างก็ทำได้ดีในส่วนนี้” เบิร์จกล่าว
เขาเสริมว่า การมีภาษีคาร์บอนแบบสิงคโปร์ หรือกฎระเบียบอื่นใดที่ควบคุมปริมาณการปล่อยคาร์บอน ถือเป็นสิ่งที่ดี และจะช่วยเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านพลังงานได้
ซึ่งนี่ก็เป็นจุดที่รัฐบาลไทยจะต้องแสดงให้นักลงทุนเห็นว่า เรามีความพร้อมแค่ไหนกับการตั้งเป้าที่จะเป็นฮับด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานนี้ อย่างน้อยในเบื้องต้น การบังคับใช้กฎหมายมาตรฐานอาคารด้านพลังงาน (Building Energy Code) ที่มีผลในเดือน มี.ค. นี้ ก็ดูจะเป็นหนึ่งในการลงมืออย่างเป็นรูปธรรมที่ดี ที่จะทำให้นักลงทุนเห็นว่า ไทยจริงจังกับการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกจริง ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อภาพลักษณ์การลงทุนต่อไป