หนึ่งเดียวในโลก! "ตักบาตรบนหลังช้าง" ประเพณีวันเข้าพรรษา จ.สุรินทร์
ช้างถือเป็นสัตว์ประจำชาติ อยู่คู่บ้านคู่เมืองไทยมาช้านาน ตั้งแต่การใช้งานแบกหาม การสู้รบสงคราม ทั้งยังเคยใช้เป็นสัญลักษณ์บนธงชาติ และได้รับเกียรติยศสูงสุดให้เป็นสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์
แต่ความเข้าใจและการฝึกฝนช้างไทยให้มีทักษะโดดเด่นจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกขณะนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเพราะ “ชาวกูย” ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ด้วย
วันอาสาฬหบูชา-วันเข้าพรรษา 2566 ตรงกับวันที่เท่าไร ถือเป็นวันหยุดไหม ทำไมบางบริษัทไม่ได้หยุด
หนึ่งเดียวในไทย! “ใส่บาตรเทียน” ประเพณีวันเข้าพรรษา เสน่ห์เมืองน่าน
เพราะพวกเขามีความผูกพันกับช้างมาแต่โบราณ แต่เดิมชาวกูยเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีทักษะในการจับช้างและฝึกช้างเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และในสมัยอดีตพวกเขาก็ทำหน้าที่จัดเตรียมช้างเพื่อช่วยรบบนสงคราม และเมื่อสงครามจบสิ้นก็ฝึกฝนช้างเพื่อใช้ในการแสดงต่างๆ กลายเป็นทักษะที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งยังสร้างรายได้เลี้ยงชุมชนเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้คำพูดจาก เว็บสล็อต มาแรงอันดับ 1
ประกอบกับชาวกูย และชาวสุรินทร์ นับถือพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่ผสมผสานระหว่างพุทธศาสนาและความผูกผันของคนกับช้าง จึงเกิดประเพณี “แห่เทียนพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง” ขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีงานบุญแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก ที่เราจะได้มีโอกาสได้ใส่บาตรบนหลังช้าง
โดยในงานประเพณีนี้ พระสงฆ์และสามเณรจะขึ้นไปนั่งบนหลังช้าง เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั้งได้ทำบุญใส่บาตร ข้าวสาร อาหารแห้ง ซึ่งนอกจากนักท่องเที่ยวจะได้ตื่นตาตื่นใจกับการได้ทำบุญแล้ว ยังได้บริจาคเงินทำบุญกับช้างซึ่งถือว่าเป็นสัตว์ใหญ่ และสัตว์มงคลคู่ประเทศไทยด้วย
อย่างไรก็ตามในวันสำคัญทางพุทธศาสนาที่จัดอย่างยิ่งใหญ่เป็นพิเศษแบบนี้ พุทธศาสนิกชนที่ไปร่วมงาน จะนิยมแต่งกายด้วยชุดผ้าไหมหรือแต่งกายชุดผ้าพื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์กัน เพราะเชื่อว่าเป็นความเป็นสิริมงคลรับวันสำคัญทางพุทธศาสนา ดังนั้นถ้าใครได้มีโอกาสไปแล้ว จะคว้าชุดไทยติดไม้ติดมือ หรือหาซื้อชุดผ้าพื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์มาลองใส่ดูกันสักครั้ง นอกจากจะได้ถ่ายรูปสวยๆ แล้ว ยังช่วยอนุรักษ์ความเป็นไทยได้อีกด้วย
สุรินทร์เตรียมจัดงานตักบาตรบนหลังช้าง 31 ก.ค-1 ส.ค. 2566
จังหวัดสุรินทร์เตรียมจัดขบวนแห่เทียนพรรษาและขบวนแห่ช้างสุดยิ่งใหญ่ ที่มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานบนหลังช้าง รวมถึงการประกอบพิธีเจริญพุทธมนต์ และพิธีทำบุญตักบาตรบนหลังช้างที่อลังการที่สุดในโลก โดยจะจัดขึ้นวันที่ 31 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 2566 ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ดังนี้
- 31 กรกฎาคม 2566 ชมริ้วขบวนแห่เทียนและขบวนช้าง ตั้งแต่เวลา 15.30 น. เป็นต้นไป
- 1 สิงหาคม 2566 ร่วมตักบาตรบนหลังช้าง มหัศจรรย์แห่งเดียวในโลก ตั้งแต่เวลา 06.30 น. เป็นต้นไป
ไปงานบุญสุรินทร์ไม่ให้เสียเที่ยว แจกพิกัดเที่ยวใกล้เคียง
สำหรับใครที่มีโอกาสได้ไปเยือนจังหวัดสุรินทร์ นอกจากจะได้ร่วมประเพณีงานบุญเอกลักษณ์โดดเด่นของจังหวัดสุรินทร์แล้ว เพื่อไม่ให้เสียเที่ยวเรายังสามารถเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงได้อีก
- หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทองโบราณท่าสว่าง อำเภอเมือง : เรียนรู้ภูมิปัญญาการย้อมสีผ้าไหมจากธรรมชาติของชาวสุรินทร์ และ ตื่นตาไปกับศิลปะการถักทอเส้นไหมอันสลับซับซ้อนดิ้นทองปสมผสานลายราชสำนักโบราณ
- หมู่บ้านช้าง อำเภอท่าตูม : เรียนรู้วิถีชีวิตชาวกวยหรือกูย สัมผัสความผูกพันระหว่างคนกับช้าง ที่เลี้ยงช้างเป็นเสมือนดั่งสมาชิกในครอบครัว มากกว่าการเลี้ยงมุ่งเน้นการเลี้ยงช้างไปเพื่องานธุรกิจ
- ปราสาทศีรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ : ชมภาพสลักนางอัปสราหินทรายที่สวยและสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ และ กรมประชาสัมพันธ์
“ตักบาตรดอกเข้าพรรษา” ประเพณีเก่าแก่หนึ่งเดียวในโลกที่จังหวัดสระบุรี
“แห่เทียนพรรษาทางน้ำ” ประเพณีงานบุญ เอกลักษณ์โดดเด่นของชาวอยุธยา